Deep Tech Spotlight Ep. 4: ดร. วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้ขับเคลื่อนการสื่อสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมพิพิธภัณฑ์

  • Science
  • April 04, 2024
Deep Tech Spotlight Ep. 4: ดร. วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้ขับเคลื่อนการสื่อสารวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นแหล่งเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ที่อาจจะดูน่าเบื่อ แต่ภายใต้การจัดแสดงนั้น กลับมีขุมสมบัติแห่งความรู้ที่รอคนเข้ามาเรียนรู้ หนึ่งในบุคคลสำคัญที่ช่วยทำให้การนำเสนอของพิพิธภัณฑ์น่าสนใจและน่าดึงดูดยิ่งขึ้น คือ ดร. วิจิตรา สุริยากุล ณ อยุธยา ผู้ที่ยืนอยู่แถวหน้าด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมพิพิธภัณฑ์ และใน Deep Tech Spotlight รอบนี้ เราขอพูดถึงดร. วิจิตรา ผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมช่องว่างระหว่างสถาบันการศึกษา เทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมของสาธารณะ ด้วยวุฒิการศึกษาที่สั่งสมมาและประสบการณ์วิชาชีพที่กว้างขวาง ดร.วิจิตราจึงกลายเป็นบุคคลสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศไทย

การเดินทางด้านการศึกษา

 

การเดินทางเชิงวิชาการของ ดร. วิจิตรา สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ ดร. วิจิตราสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลังจากนั้นก็ได้จบการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การสื่อสารจากมหาวิทยาลัยกลามอร์แกน สหราชอาณาจักร ซึ่งฝึกฝนทักษะในการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพไปยังผู้ชมที่หลากหลาย หลังจากนั้นก็ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านพิพิธภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร ซึ่งงานวิจัยของดร. วิจิตรา เจาะลึกถึงพลวัตที่ซับซ้อนของการสื่อสารในพิพิธภัณฑ์และการออกแบบนิทรรศการ

 

ด้านการงาน

 

ปัจจุบัน ดร. วิจิตรา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีและนวัตกรรม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) ในประเทศไทย ดร. วิจิตรามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรมภายในองค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และโครงการในอนาคตขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์แห่งชาติ ซึ่งรวมถึงงานวิจัยเชิงวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามอัธยาศรัย ด้วยตำแหน่งผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตอกย้ำความมุ่งมั่นของดร. วิจิตรา ในการพัฒนาการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของเเหล่งเรียนรู้ในระดับประเทศ

 

ผลงานต่างๆ

 

ความเชี่ยวชาญของ ดร. วิจิตรา ครอบคลุมในด้านต่างๆ รวมถึงการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ การออกแบบนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยดร. วิจิตราได้มีส่วนร่วมในการจัดทำหนังสือ “ณ หว้ากอ อดีต ปัจจุบัน อนาคต” รวมทั้งจัดนิทรรศการที่ระลึกเนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ หว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์

นอกจากนั้น ดร. วิจิตรายังมีส่วนร่วมในงานเขียนและจัดทำหนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ได้แก่ A-Z @ IT MUSEUM พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับย่อ, หลักจรรยาบรรณสำหรับพิพิธภัณฑสถาน สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ และ หนังสือ Communicating Science: A Global Perspective ในส่วนของประเทศไทย Thailand: From temples and palaces to modern science communication

นิทรรศการอื่นๆ ที่ดร. วิจิตราได้ร่วมจัดตั้ง ได้แก่ นิทรรศการ Moon Landing,หนึ่งวันบนดาวอังคาร A Day on Mars , Disruptive Technology IT museum , นิทรรศการ Tomorrow Land นวัตกรรมวันรุ่ง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565, นิทรรศการมายาประดิษฐ์ Fascination of Films Making งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2566

 

Museum in Thailand

 

การเข้าร่วมการประชุมและการสัมมนา

 

ดร. วิจิตราได้เป็นวิทยากร และผู้บรรยายการประชุมและสัมมนาระดับนานาชาติมากมาย โดยได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆ ได้แก่

  • Mobile Family Learning in the Science Museum Presented at mLearn 2017, Larnaca, Cyprus,30-Oct-2017
  • Man-made error. Repeating scientific information inattentively at the AASSA-INSA-NISCAIR Regional Workshop on SHARE Communication with the theme Science Breakthroughs: Paid News, Fake News and Ethics; New Delhi, India, February 2019,
  • Mobile Family Learning in Science Museum, Thailand at the 2019 Beijing International Symposium on Science Communication, BAST, Beijing, China, July 2019
  • Connecting the dots: Science, history, digital technology and the vivid story of Wahkor-Role of museum in bringing science and history to live in CIMUSET, ICOM Kyoto, Japan, September 2019
  • Learning in the museum with the mobile application; Museum Siam, Bangkok, Thailand
  • Technology and the Museum; the memorial museum, Bangkok, Thailand

 

บทสรุป

 

การเดินทางของ ดร.วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา เป็นตัวอย่างของการบรรจบกันของมรดกทางวิชาการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ดร. วิจิตรายังคงผลักดันขอบเขตของการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปมีส่วนร่วมกับความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "Deep Tech Spotlight" ที่เป็นความร่วมมือระหว่างทรู ดิจิทัล พาร์ค และ สมาคมนักวิจัยรุ่นใหม่ (TYSA) เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักวิจัยไทย และนำเสนอการค้นพบใหม่ของนักวิจัยไทยที่ประสบความสำเร็จ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

 

ติดตาม Deep Tech Spotlight ได้จากบทความบนเว็บไซต์  truedigitalpark.com เราจะนำเสนอนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกเดือน

Tags

  • deep tech
  • deep tech spotlight

You May Like

Feel free to contact us or visit

us to check out our Spaces