ไขข้อสงสัย ภาษีคริปโต เริ่มเก็บอย่างไร ใครต้องจ่ายบ้าง

  • เทคโนโลยี
  • March 01, 2022
ไขข้อสงสัย ภาษีคริปโต เริ่มเก็บอย่างไร ใครต้องจ่ายบ้าง

กลับมาอีกครั้งสำหรับ TDPK TALK: TECH HIGHLIGHT ซึ่งเดินทางมาถึง EP.6 เรียบร้อยแล้ว ในครั้งนี้เราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลในหัวข้อ “ไขข้อสงสัย ภาษีคริปโต เริ่มเก็บอย่างไร ใครต้องจ่ายบ้าง” ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนที่หลายคนสงสัย วันนี้เราได้หาคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว โดยเราได้รับเกียรติจากคุณ ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (อาจารย์มิก), CEO & Founder, iTAX และดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล (ดร.แบงค์), CEO & Co-founder, Zipmex มาร่วมแชร์ความรู้และความคิดเห็น ซึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจจะมีอะไรกันบ้างนั้น เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนแล้ว!

ทำความรู้จัก Speaker เบื้องต้น

อาจารย์มิก: ผมเป็น CEO และผู้ก่อตั้ง iTAX แอพพลิเคชั่นคำนวณภาษีสำหรับบุคคลทั่วไป และรองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สอนเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร ผมเชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ ผมอยากให้ภาษีเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด และประหยัดที่สุดสำหรับทุกคน ภาษีคริปโตก็เป็นหนึ่งในความสนใจครับ

ดร. แบงค์: ผมเป็น CEO ของ Zipmex แพลทฟอร์มให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันให้บริการ 4 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนิเซีย ออสเตรเลีย และประเทศไทย เราเป็นธุรกิจ FinTech ใหม่ที่กำลังเติบโตในอุตสากรรมโลก ตอนนี้เริ่มเห็นได้ว่าวงการสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสนใจอย่างมาก มีคนสมัครเปิดบัญชีมากขึ้นมาก ๆ ในปี 2021 อีกทั้งราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตอย่างมหาศาล จนทำให้ regulator ต้องเข้ามากำกับดูแล และกรมสรรพากรของหลายประเทศเริ่มเก็บภาษีตรงนี้ด้วย

การเก็บภาษีคริปโต

อาจารย์มิก: ภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากที่สุดคือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการง่าย ๆ คือบุคคลธรรมดาเสียภาษีเมื่อมีรายได้ และรายได้ที่เกิดจากสินทรัพย์ดิจิทัลที่กฎหมายกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2561 มีอยู่ 2 เรื่องกว้าง ๆ คือ กำไรจากการขายเหรียญ แปลว่ามีราคาขายและราคาทุน กับอย่างที่สองคือ ถือเหรียญไว้แล้วเหรียญงอกขึ้นจากการที่เรานำไปฝากได้ดอกเบี้ย

รายละเอียดในเรื่องของกำไร ตามกฎหมาย เราคิดเป็นรายธุรกรรม (Transaction) ซึ่งเมื่อตอนต้นปี 2022 ท่านโฆษกกรมสรรพากรออกมาชี้แจงตาม วิธีนี้ และทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นธรรมหรือเปล่า สมาคม digital asset รับบทบาทสำคัญ ในการช่วยชี้แจง และเป็นคนกลางระหว่างนัก trade และกรมสรรพากร และนำไปสู่การพิจารณาเกณฑ์ใหม่ คือ ถ้าขาดทุนใน exchange ไทยหรือผู้ให้ บริการที่ได้รับอนุญาต จากก.ล.ต. ธรุกรรมที่ขาดทุนนั้น สามารถนำมาหักลบ กับกำไรได้ ส่วนต้นทุน กรมสรรพากรพิจารณาให้รวมค่าธรรมเนียมต่างๆด้วย

การแลกเปลี่ยนที่ Spot Rate

อาจารย์มิก: เวลาคิดเรื่องกำไรเราต้องรู้ราคาซื้อและราคาขายที่ชัดเจน ปกติทองและสกุลเงินมีราคาต่อวัน แต่ cryptocurrency ราคาวิ่งเป็นรายวินาที ทางกรมสรรพากรก็เข้าใจ ดังนั้นเวลากำหนดราคาทุน หรือราคาขาย ตอนนี้เราสามารถเลือกเป็น Spot Rate หรือราคาเฉลี่ยของวันนั้นก็ได้

คิดว่าเกณฑ์การเก็บภาษีเหมาะสมหรือไม่

ดร.แบงค์: ไกด์ไลน์ที่ออกมาคือเก็บภาษีแบบ capital gain tax ซึ่งผมคิดว่าแปลกครับ เพราะ cryptocurrency ไม่ได้เป็น asset หรือ inventory ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่หลายประเทศก็มีการเก็บ capital gain tax หรือภาษีวิธีอื่นตรงนี้เหมือนกัน ผมเชื่อว่านักลงทุนไม่มีปัญหากับการเก็บภาษี แต่ควรต้องเก็บบนกำไรสุทธิครับ ซึ่งยอมรับว่าโดย nature ของ cryptocurrency เก็บภาษียาก ต้องขอบคุณกรมสรรพากรที่ประกาศความชัดเจนค่อนข้างเร็ว

ธุรกรรมรูปแบบไหนบ้างที่ต้องเสียภาษี

อาจารย์มิก: กรณีแรกถ้าผมฝากเงินที่ Zipmex ไม่ต้องเสียภาษี เพราะยังไม่ได้ซื้ออะไร ยังไม่มีกำไรเกิดขึ้น แต่ถ้าผมฝากเงินที่ Zipmex ซื้อ bitcoin แล้วราคาพุ่งขึ้น แต่ยังไม่ได้ขาย ก็ไม่ต้องเสียภาษี เพราะยังไม่มีการรับรู้รายได้ แต่ถ้าผมขายเป็นเงินบาท ได้กำไร กรณีนี้ต้องเสียภาษีอีก กรณีหนึ่งถ้าผมแลกเหรียญเป็นเหรียญหรือสินทรัพย์อื่นๆ เกิดการแปรสินทรัพย์ ทำให้เกิดกำไร และต้องเสียภาษีเช่นกัน นอกจากนี้ในกรณีที่เรานำเหรียญไป locked staking แล้วเหรียญเกิดการงอกเงย ต้องเสียภาษีตามราคาที่เราได้แต่ละวัน

ส่วนกรณีที่ trade แล้วอีกฝ่ายเป็น Anonymous ทำให้ขาดองค์ประกอบในการหักภาษี ทำให้กรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้ ในส่วนของกระดาน trade ตอนนี้เป็นแค่แพลตฟอร์ม ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Session สำหรับผู้ที่สนใจให้ไปฟังได้ที่ลิงก์ https://web.facebook.com/TrueDigitalPark/videos/703696863979870

 

Tags

  • cryptocurrency

You May Like

ติดต่อทีมงานทรู ดิจิทัล พาร์ค

หรือเข้าชม สถานที่