เทรนด์เทคโนโลยี 2022 ผ่านมุมมองสื่อสายเทค

  • เทคโนโลยี
  • February 10, 2022
เทรนด์เทคโนโลยี 2022 ผ่านมุมมองสื่อสายเทค

TDPK TALK: Tech Highlights EP.5 ครั้งนี้เป็นการพูดคุยถึง เทรนด์เทคโนโลยี 2022 ผ่านมุมมองสื่อสายเทค ผู้ชมต้องคาดเข็มขัดกันเลยทีเดียวเพราะว่าเทรนด์ในปีนี้พุ่งแรงมาก ซึ่งเราได้รับเกียรติจากคุณ อรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO และ Co-founder ของ Techsauce Media มาร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ โดยเราได้รวบรวมไฮไลต์ที่น่าสนใจใน session นี้มาให้ทุกคนเรียบร้อยแล้ว ไปอ่านสรุปกันได้เลย

หลังจาก COVID-19 เทรนด์เทคโนโลยีในช่วงปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และพฤติกรรม ของคนที่เปลี่ยนไปส่งผลให้เกิดเทรนด์อะไรใหม่ๆ หรือไม่

ในเรื่องของ physical หลัก ๆ ที่เปลี่ยนไปน่าจะมีทั้งหมด 4 เรื่อง คือ

1. พฤติกรรมของผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับการซื้อของโดยไม่ต้องออกจากบ้าน – Supply chain ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของออนไลน์ e-commerce โตอย่างก้าวกระโดดมาก อย่างปีที่แล้วประเทศไทยเรามีสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกก็มาจากภาคของโลจิสติกส์ ซึ่งส่วนหนึ่งบ่งบอกว่าโควิดเป็นตัวเร่งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคตรงนี้
2. Edtech – ตอนนี้คอนเทนท์ต่าง ๆ สามารถเสพผ่านทางออนไลน์เราอยากจะเรียนอะไร ก็สามารถเรียนได้หมด การเข้าถึงคอนเทนท์การเรียนมันง่ายขึ้นมาก และทางมหาวิทยาลัยก็โดนความท้าทายตรงนี้ จึงต้องปรับเพื่อก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการแข่งขันกับธุรกิจที่เข้ามาทำ Edtech ด้วย
3. การทำงาน Work From Home ตอนนี้เทรนด์ที่กำลังมาก็คือ Digital workplace หรือมีแพลตฟอร์มอย่าง Gather Town ที่จะมาช่วย connect และพูดคุยกับคนในออฟฟิศ
4. Healthcare การปรึกษาหมอผ่านทาง Telemed ให้เขาส่งยามาที่บ้าน และเทรนด์ในเรื่องของ Personalised healthcare

เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค WEB 3.0

WEB 1.0 เป็นยุคของ one-way communication เหมือนห้องสมุดที่จะมีเว็บในการให้ข้อมูล user ก็เปรียบเสมือนผู้อ่าน แต่พอมา WEB 2.0 จะเป็นยุคที่ user สามารถผลิตคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มเองได้อย่าง Facebook, Twitter, YouTube, TikTok, Instagram แต่ปัญหาคือยังมีคนกลางอย่างแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ควบคุม data และเข้ามา monetize จากมัน ซึ่งหัวใจหลักของ WEB 3.0 จึงมาในรูปแบบ decentralize หรือการกระจายสิทธิให้ user ในการบริหารจัดงานและควบคุมข้อมูลของตัวเอง เป็นการกระจายมูลค่าคืนสู่ user

เทคโนโลยีที่มาในยุค WEB 3.0

ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเยอะและรวดเร็วมาก มีจุดที่น่าสนใจอย่าง Metaverse ที่บางคนอาจจะมองว่าเป็น virtual reality เฉย ๆ แต่ความจริงแล้ว Metaverse นั้น ต้องมีคุณสมบัติอย่าง Digital asset ที่มีความยืดหยุ่น คือ จะต้องสามารถถอดหรือ convert ไปมี value บนแพลตฟอร์มที่อื่น ๆ ได้ หรือก็คือ Digital asset ต้องมีความคงทนและอยู่กับเราจริง ๆ อีกทั้งต้องมีความเป็น community จนเกิดเป็นเศรษฐกิจ มีการซื้อขายขึ้น และเกิดมูลค่าจากตรงนั้นจริง ๆ

ตัวอย่างการนำ Metaverse เข้ามาใช้ในอุตสากรรม

ยกตัวอย่าง Hyundai ที่ซื้อบริษัทหุ่นยนต์ ซึ่งเขานิยามเป้าหมายบริษัทของเขาว่าไม่ใช่แค่การผลิตรถยนต์แต่เป็นการช่วยมนุษย์ก้าวข้ามลิมิตและสามารถเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ โดยไม่มีข้อจำกัด ดังนั้นจึงมีการตีความใหม่และนำ Metaverse เข้ามาใช้ เช่น การเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงภัยอย่างในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสิ่งก่อสร้างอันตราย โดยใช้หุ่นยนต์หรือถอดร่างเสมือนของเราเข้าไปเป็นตัวแทนเรา ซึ่งเราจะเห็นภาพเสมือนจริงที่หุ่นยนต์เข้าไปเหมือนกับเราเข้าไปอยู่ที่นั่นจริง

โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการนำคนจริง ๆ เข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้นั่นเอง หรืออีกหน่อยอาจจะไปศึกษาสถานที่นอกโลกก็ได้

ความเป็นไปได้ของ Metaverse สู่ mass adoption

การที่จะเข้าสู่ mass adoption ได้ จะต้องเข้าถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในโลกของเกมให้ได้ก่อน แต่ต้องยอมรับว่าเกมเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนเข้าสู่ Metaverse ได้ง่าย ถ้าเราสามารถผสมผสานโลกของเกมและ Digital asset เข้าหากันได้ มันจะทำให้คนเห็นมูลค่าในนั้น และทำให้คนที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับเกมกล้าที่จะ adopt และทำให้เกิด mass adoption ได้ แต่เราก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้เมื่อไหร่

เทคโนโลยีที่เห็นจากงาน CES 2022

สิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจคือมีหลายเคสที่กระโดดข้ามไปทำ Cross platform ตัวอย่างเช่น Sony ไปทำรถ EV และมี solution ทางด้าน healthcare เยอะมาก ๆ แสดงให้เห็นว่าสาย well-being กำลังเป็น mega trend และยิ่งมีเรื่องโรคระบาด ทำให้คนที่ทำเทคโนโลยีสนใจทางด้านนี้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมี product สาย Plant-based ที่เยอะมากเช่นกัน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจาก Session สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/b4l7rV6h9f/

Tags

  • metaverse
  • WEB 3.0

You May Like

ติดต่อทีมงานทรู ดิจิทัล พาร์ค

หรือเข้าชม สถานที่