Cross-Border E-Commerce ช่องทางที่เปิดกว้างของ SME กับการเติบโตสู่ตลาดทั่วโลก

  • Business
  • November 02, 2021
Cross-Border E-Commerce ช่องทางที่เปิดกว้างของ SME กับการเติบโตสู่ตลาดทั่วโลก

การซื้อขายของในโลกออนไลน์ในปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นฐานในชีวิตที่ทุกคนเริ่มคุ้นชินกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะตั้งแต่การแพร่หลายในช่วงโควิด-19 ก็ทำให้มีหลายคนตื่นตัวและต้องการปรับตัวเพื่อขยายธุรกิจของตัวเองให้เติบโต และไปได้ไกลกว่าเพียงตลาดในประเทศ

ใน TDPK TALK: SME Forward EP.1 เราได้รับเกียรติจาก คุณอุ้ย ภรณี ช็อมบร็อง Seller Education Manager จาก Amazon Global Selling Thailand และคุณรอน เจริญ หิรัญตระกูล Partnership Manager จาก Payoneer มาร่วมแชร์มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยเราได้สรุปเนื้อหาเอาไว้ ดังนี้

เทรนด์ธุรกิจ E-Commerce ในปัจจุบัน

คุณอุ้ย ได้นำเสนอข้อมูลจาก e-marketer แสดงในส่วนของอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจค้าปลีกทั่วไปเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2017-2020 และมีการคำนวณคาดการณ์ถึงปี 2023 พบว่า ธุรกิจค้าปลีกทั่วไปมีการเติบโตประมาณ 3.7% ขณะที่ E-Commerce เติบโตที่ 16.5%  ดังนั้นจะเห็นว่าอัตราการเติบโตสูงกว่ามาก และคาดว่าตลาด E-Commerce ในเอเชียแปซิฟิกจะมีมูลค่ากว่า 70% ของการค้าปลีกทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลายคนจึงอยากปรับตัวเข้าสู่การค้าขายบนออนไลน์มากขึ้น


สำหรับในประเทศไทยในช่วงปี 2020 มูลค่าการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ อยู่ที่ 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 47% มาจาก E-Marketplace อย่างเช่น เว็บที่รวบรวมสินค้าจากหลาย ๆ เจ้า รองลงมาคือ Social Media 38% และ เว็บไซต์ร้านค้า Brand.com 15%

พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคบน E-Marketplace ที่เปลี่ยนไปในช่วงโควิด-19

สำหรับประเทศไทยเอง หลายคนเริ่มซื้อของจาก Social media แต่ปัจจุบันก็มีเทรนด์ที่เปลี่ยนไปโดยเริ่มซื้อของใน E-Marketplace มากขึ้น

บนแพลตฟอร์มอย่าง Amazon มีสินค้าในหลาย category ที่ได้รับความนิยมในช่วงที่การแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมา เช่น สินค้าประเภท Home Furniture, Hobbies and Toys หรือ สินค้าที่ปกติคนจะซื้อในซุปเปอร์มาร์เก็ตก็กลับมาได้รับความนิยมบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น

Cross-Border E-Commerce

การขายสินค้านอกจากจะขายบนออนไลน์ภายในประเทศแล้ว ตลาดต่างประเทศก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่หลายธุรกิจ SME หรือธุรกิจ E-Commerce เริ่มมองหา โดยเฉพาะเมื่อปัจจุบันมีแพลตฟอร์มหลายแห่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเอื้อให้เกิดการทำธุรกิจในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ถือเป็นโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจให้เติบโตหลายเท่าตัว จากการคาดการณ์ Cross-Border ในอนาคตจะมีสัดส่วนคิดเป็น 20% ของการค้าปลีกทั่วโลก

คุณอุ้ยได้กล่าวถึงลักษณะของ Cross-Border E-Commerce มีดังนี้

  1. Transaction ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ค้าและลูกค้าที่อยู่กันคนละประเทศ ไม่ว่าจะใกล้เคียงหรือคนละทวีป
  2. Transaction เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือช่องทางออนไลน์
  3. การขนส่งที่สามารถไปถึงลูกค้าต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมั่นใจ

แน่นอนว่าการขายของไปยังลูกค้าต่างชาติย่อมมีความท้าทายเกิดขึ้น แม้ส่วนใหญ่แล้วผู้ขายหลายคนอาจจะมีฐานลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศอยู่แล้ว แต่หน้าที่ของผู้ขายคือการหาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละประเทศ โดยเพิ่มการ Localize สินค้าให้เหมาะสม

สำหรับคนที่สนใจควรเริ่มต้นจากประเทศไหนก่อนดี?

อับดับแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีอัตราการเติบโตของ E-Commerce อยู่ที่ 3.7% สูงยิ่งกว่าการค้าปลีกทั่วไป ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสอยู่ที่ 7.9% เลยทีเดียว

ทำไมต้อง Amazon Global Selling?

  • Amazon มี Global Footprint อยู่ในต่างประเทศมากกว่า 20 ประเทศ โดยในแต่ละประเทศมีเว็บไซต์ที่จะสามารถซื้อสินค้าได้
  • มีลูกค้ากว่า 300 ล้านคนที่เป็น active customers รวมถึงในจำนวนนี้ เป็นลูกค้าประจำ Prime member กว่า 150 ล้านคน
  • การสนับสนุนความสะดวกสบายให้ผู้ขายด้วยบริการ Fulfillment Center กว่า 175 คลังสินค้าทั่วโลก เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ขายและส่งสินค้าไปยัง 200 ประเทศทั่วโลก
  • Amazon มีการลงทุนไป 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเครื่องมือในการบริหารธุรกิจและการทำการตลาดเพิ่มยอดขายให้กับผู้ขาย

สำหรับผู้ขายชาวไทย

Amazon Global Selling มีการ localize ให้เป็นภาษาไทยโดยเฉพาะ โดยเป็นภาษาที่ 8 ที่มีการพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ผู้ขายสามารถติดต่อพูดคุยกับทีม support เป็นคนไทยได้เมื่อติดปัญหาใดใดก็ตาม

ตัวอย่างผู้ประกอบการ SME ไทยที่ประสบความสำเร็จ

สินค้าที่ Made by Thai for the Americans (สร้างโดนชาวไทย เพื่อชาวอเมริกัน) เช่น แบรนด์ Banana Joe ได้มีการผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าอเมริกันโดยเฉพาะ เป็นขนมกล้วยอบกรอบ ขนมทางเลือกนอกจาก potato chips เพื่อคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นขนมจึงใช้รสบาร์บีคิวซอส แทนการฉาบด้วยน้ำตาลแบบในเมืองไทย และมีการโฟกัสไปที่ลูกค้าวีแกน โดยแบรนด์นี้ได้รับการรีวิวจากลูกค้าอย่างดี

อีกหนึ่งเคสที่น่าสนใจคือ แบรนด์ Enzo’s Private Selection โดยการทำผลิตภัณฑ์ชาเขียวสำหรับลูกค้าอเมริกัน โดยตัว packaging อาจจะดูแล้วไม่เหมือนสินค้าจากประเทศไทย แต่ได้ออกแบบเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าปลายทาง

Amazon กับโครงการ Jumpstart เปิดสำหรับผู้ขายที่สนใจเข้ามาบนแพลตฟอร์ม สามารถเข้าไปเรียนตามเวลาที่สะดวก โดยจะสอนตั้งแต่พื้นฐานของ Cross-border E-commerce 101 เช่น วิธีการเลือกสินค้า การทำ Product Research ขั้นตอนการขายบนแพลตฟอร์ม Amazon และการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ง่าย ๆ เพียงเข้าเว็บไซต์ https://sell.amazon.co.th/jumpstart-thailand 

Cross-Border payment

นอกจากการเติบโตของตลาดออนไลน์หรือ E-Commerce แล้ว ปัจจุบันตลาด Cross-border payment ก็เติบโตอย่างมากเช่นกัน โดยปัจจุบันถ้าคนจะไปท่องเที่ยว หลายคนก็จะใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ในการจองที่พัก หรือเรียกรถผ่านแอป แน่นอนว่าผู้คนก็มีการใช้จ่ายผ่าน Online Payment มากขึ้นด้วย

ในฝั่งของผู้ขาย ปัจจัยในเรื่องของรับเงิน คือสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไร โดยปกติในเมืองไทยอาจใช้วิธีการโอนเงิน แต่ก็จะมีขั้นตอนในเรื่องของเอกสารต่างๆ มาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงมีธุรกิจ FinTech เกิดขึ้นมาสนับสนุนมากมาย จึงเป็นที่มาของ Payoneer แพลตฟอร์มตัวกลางการรับเงินตราต่างประเทศโดยวิธีการโอนเงินแบบ Direct deposit เข้ามาตอบโจทย์การบริหารเงินในการค้าขายบนช่องทางออนไลน์แบบ Cross-boarder

แน่นอนว่าผู้ขายบนแพลตฟอร์มอย่างบน Amazon ถ้าหากต้องการไปขายสินค้าในหลากหลายประเทศ ก็ต้องคิดว่าแล้วจะรับเงินกลับมาอย่างไร

คุณรอน กล่าวว่า Payoneer จะมีระบบ Global Payment Service โดยจะทำการสร้างบัญชีเสมือนให้กับผู้เปิดบัญชี ทำหน้าที่เป็นบัญชีออนไลน์ในสกุลเงินต่าง ๆ เช่น Amazon.com รับสกุลเงินดอลลาร์ เงินยูโร หรือ เงินปอนด์ โดยรองรับมากกว่า 10 สกุลเงิน และสามารถใช้บัญชีเสมือนไปเชื่อมกับแพลตฟอร์มในแต่ละประเทศ โดยลูกค้าต้องมีบัญชี Payoneer เพียงแค่บัญชีเดียว ซึ่งจะช่วยตัดความกังวลในเรื่องของการรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง

ติดตาม TDPK TALK  กับเนื้อหาที่น่าสนใจในแวดวง Tech และ Stratup ได้ที่เฟสบุคเพจ True Digital Park  

Tags

  • SME
  • Amazon
  • Cross-Border
  • E-Commerce
  • Payoneer

You May Like

Feel free to contact us or visit

us to check out our Spaces