3 ปัญหาหลักของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ทำอย่างไรจะหลีกเลี่ยงได้?

  • ธุรกิจ
  • June 14, 2021
3 ปัญหาหลักของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ทำอย่างไรจะหลีกเลี่ยงได้?
เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่มาแรงมากในยุคปัจจุบัน หลายๆคนมีความต้องการอยากจะก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้เล่นของตลาดที่ประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีเพียง 10% ของสตาร์ทอัพเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ และมีอีกมากมายที่ต้องเผชิญกับคำว่าล้มเหลวเพราะพวกเขาเหล่านั้นต้องพบเจอกับปัญหาของผู้ประกอบการ แต่ไม่รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือหรือคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ไหน

มีผู้คนมากมายอยากเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยความฝันอันแรงกล้าที่อยากจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งาน แสวงหาเทคโนโลยีเพื่อเข้าไปช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทุกสตาร์ทอัพจะประสบความสำเร็จในแวดวงนี้ เพราะจากผลสำรวจตั้งแต่ปี 2558 กล่าวว่า มีสตาร์ทอัพมากถึง 90% ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

จากผลสำรวจของ CB insight ได้เปิดเผยถึง 3 ปัจจัยหลักจาก 20 กว่าปัจจัยที่เป็นตัวการของความล้มเหลวและเป็นปัญหาของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ปัญหาข้อแรกที่พบได้ถึง 42% คือ สินค้าหรือบริการไม่เป็นที่ต้องการของตลาด (No market need) สตาร์ทอัพนั้นล้มเหลวเพราะพวกเขาไม่ได้แก้ปัญหาตลาดตรงจุด ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม แต่ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้า (pain point) ได้อย่างตรงจุดละก็ นี่ก็อาจเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่สตาร์ทอัพจะต้องนำมาพิจารณา

 

ปัญหาต่อมาที่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญประมาณ 29% คือ เงินทุนไม่เพียงพอ (Run out of cash) สตาร์ทอัพส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนของตัวเอง บางรายก็ไม่สามารถจัดการ fixed cost ได้ดีพอจนทำให้เงินที่มีเริ่มหมดไป แย่ยิ่งไปกว่านั้นในบางรายที่ได้รับการระดมทุนมาแล้วก็ยังไม่สามารถบริหารเงินที่มีอยู่ เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริหารองค์กรได้ดี ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะไปต่อได้ 

 

ปัญหาข้อที่ 3 ที่อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ก็สร้างปัญหาให้บริษัทได้อย่างมาก นั่นก็คือ การมีทีมงานที่ไม่เข้ากัน (Not the right team) บริษัทสตาร์ทอัพที่พบเจอกับปัญหานี้มีมากถึง 23% เพราะในการทำงานเราไม่สามารถทำงานได้คนเดียวแต่ต้องประกอบไปด้วยหลายฝ่าย หากทีมงานไม่ได้มองไปในจุดมุ่งหมายเดียวกัน อาจทำให้งานไม่พัฒนาไปข้างหน้ารวมถึงส่งผลต่อสมาธิของสมาชิกในทีมและภาพรวมของการดำเนินงานในอนาคตอีกด้วย

 

ท้ายที่สุดการทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จนั้นอาจเป็นเรื่องยากเสียหน่อยสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะอาจจะต้องพบเจอกับปัญหาที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนดังเช่นที่ได้กล่าวไปข้างต้น หรือจะเป็นปัญหาอย่างเรื่องพื้นฐานที่ควรทราบ เช่น ความรู้เรื่องเอกสาร การบัญชี หรือเทคโนโลยี

 

จากผลสำรวจของ CB insight ก็ทำให้พบว่าปัญหาของผู้ประกอบการในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายๆกันและอาจทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกถึงทางตัน จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือสอบถามหน่วยงานที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆเป็นพิเศษ

Startup on table brainstorm

True Digital Park (TDPK) จึงได้เปิดบริการ One Stop Service for Startup เพราะเราเล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับสตาร์อัพไทยให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น 

 

True Digital Park One Stop Service for Startup คือ ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจออนไลน์ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจ  เราเป็น Startup Ecosystem ที่รวมบริษัท technology และ สตาร์ทอัพไว้มากมาย นอกจากนี้เรายังมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ รวมถึง VC ที่คอยช่วยเหลืออยู่

ทรู ดิจิทัล พาร์ค และพาร์ทเนอร์บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจด้านต่างๆ ได้แก่

  • ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ
  • การติดต่อ VC เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือการหาpartner ทางธุรกิจ
  • การบัญชีและกฎหมาย
  • การจดทะเบียนและสิทธิบัตร
  • ทุนสนับสนุนจากภาครัฐ
  • การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และสิทธิทางภาษี
  • การขอสมาร์ทวีซ่า
  • การหาบุคลากรสายเทค 
  • การให้บริการ Cloud

โดยเรามีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาและตอบคำถามในเบื้องต้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

แต่หากท่านต้องการปรึกษาอย่างละเอียดและมีคำถามเฉพาะทางมากขึ้น เราจะทำการติดต่อพาร์ทเนอร์หรือผู้เชี่ยวชาญและนัดหมายวันเวลาเพื่อให้คุณได้เข้ารับคำปรึกษาต่อไป ช่วยลดการเกิดปัญหาของผู้ประกอบการในปัจจุบัน

สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการใดที่สนใจเข้ามาขอรับคำปรึกษาเบื้องต้นได้ฟรี สามารถลงทะเบียนและกรอกแบบฟอร์มเพื่อสอบถาม ทางทีมงาน TDPK จะทำการติดต่อกลับให้เร็วที่สุด

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและกรอกแบบฟอร์มสอบถามได้ที่ 

https://www.truedigitalpark.com/en/startup-support/one-stop-service-for-startups

----

ทรู ดิจิทัล พาร์ค—ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ใจกลางย่านนวัตกรรมต้นแบบด้านดิจิทัลของประเทศไทย

 

Tags

  • Business
  • HR
  • Smart Visa

You May Like