ตอบทุกเรื่องว่า startup คืออะไร และทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ startup

  • ธุรกิจ
  • October 25, 2022
ตอบทุกเรื่องว่า startup คืออะไร และทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ startup
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากรู้ความเป็นมาของคำว่า startup ไปจนถึงความแตกต่างระหว่าง startup กับ SME และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำยอดฮิตดังกล่าวที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยินในปัจจุบัน เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่อง startup ผ่านบทความนี้เอง

ในโลกที่อะไรๆ ก็มุ่งไปสู่ความเป็น digital จนทำให้หลายคนมีไอเดียอยากทำธุรกิจ startup ที่ต่างออกไปจากธุรกิจแบบเดิม ซึ่งก็มีคำถามตามมาว่า “startup” คือคำที่ถูกพูดถึงในหมู่คนรุ่นใหม่รวมถึงบรรดานักธุรกิจนั้น แท้จริงแล้วคำคำนี้มีอะไรที่มากกว่าความทันสมัยหรือฟังแล้วดูเท่อยู่บ้าง?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากรู้ความเป็นมาของคำว่า startup ไปจนถึงความแตกต่างระหว่าง startup กับ SME และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำยอดฮิตดังกล่าวที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยินในปัจจุบัน เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่อง startup ผ่านบทความนี้เอง

startup คืออะไร ต่างจาก SME อย่างไรบ้าง

ถ้าให้อธิบายอย่างตรงไปตรงมา startup ก็คือ บริษัทขนาดเล็กที่ก่อตั้งโดยผู้ประกอบการตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป มีเป้าหมายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่ซ้ำใคร ควบคู่กับการนำนวัตกรรมและความคิดใหม่ๆ มาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เรายังสามารถอธิบายนิยามของ startup ได้เพิ่มเติมอีกว่า 

startup คือ บริษัทเกิดใหม่ที่กำลังดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนแรกของแผนพัฒนาธุรกิจ ซึ่งมักจะได้รับเงินทุนจากองค์กรใหญ่หรือนักลงทุนอิสระในช่วงการเริ่มต้นธุรกิจ โดย startup ที่พวกเรารู้จักมักเริ่มต้นธุรกิจด้วยคุณลักษณะเด่น 2 ข้อ นั่นคือ

  1. repeatable startup ที่ดีจะต้องมีรูปแบบการทำธุรกิจที่สามารถแก้ปัญหาที่ผู้บริโภคมีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับดึงให้พวกเขากลับมาใช้งานซ้ำ และเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยมี 
  2. scalable โมเดลธุรกิจของ startup จะต้องขยายฐานลูกค้าไปได้รวดเร็ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อเติบโตในตลาดที่ใหญ่กว่าได้อย่างรวดเร็ว

ทีนี้ลองดูรายชื่อ startup ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน จะพบว่าส่วนใหญ่มุ่งเน้นการทำธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของตลาดด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อีคอมเมิร์ซ การสื่อสาร การแพทย์ และความบันเทิง ที่ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกและสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค 

ในฝั่งของ SME หรือ Small and Medium-sized Enterprise นั้น ถือเป็นองค์กรรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาอย่างยาวนาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • SME ด้านการผลิตสินค้า จะนำวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นสินค้า ทั้งจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม 
  • SME ด้านการค้า ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แต่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่าย ทั้งแบบค้าส่งและค้าปลีก
  • SME ด้านบริการ จะเน้นการให้บริการ เช่น โรงแรม ประกันภัย รับจัดอีเวนต์ ฯลฯ

ประเภทของธุรกิจ startup ที่มีแพร่หลายในปัจจุบัน

เรารู้ว่าคุณคงแอบสงสัยอยู่ในใจว่าธุรกิจ startup ที่มีอยู่ปัจจุบัน จริงๆ แล้วแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภทกันแน่ จะต้องเจาะจงไปที่เรื่องไหน หรือใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวชี้วัด เอาล่ะ ถ้าคุณอยากรู้คำตอบว่า startup มีกี่ประเภท เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจเอง

scalable startups (สตาร์ตอัปที่ขยายขนาดได้)

startup ประเภทแรกนี้เป็นอะไรที่คุณอาจร้องอ๋อทันที เมื่อเราพูดถึงชื่อของบริษัทที่เติบโตจาก startup จนก้าวมาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีลูกค้ามากมายอยู่ทั่วโลก ซึ่งได้แก่ Google, Facebook และ Twitter นั่นก็เพราะว่าบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มีผลิตภัณฑ์และบริการที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ จนได้รับเงินทุนจากนักลงทุนและเติบโตจนสามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

small business startups (สตาร์ตอัปขนาดเล็ก)

startup ประเภทนี้ก่อตั้งขึ้นโดยคนธรรมดาทั่วไปและใช้เงินทุนที่ตัวเองมีมาเริ่มต้นธุรกิจ ส่วนใหญ่แล้วมักมีการเติบโตตามจังหวะและโอกาสที่เข้ามา อาจมีแค่เฉพาะเว็บไซต์แต่ไม่ได้มีแอปพลิเคชันให้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ร้านขายของแฮนด์เมด ร้านขนมปัง หรือตัวแทนจำหน่ายแพ็กเกจท่องเที่ยว เป็นต้น

lifestyle startups (สตาร์ตอัปไลฟ์สไตล์)

คนที่มีงานอดิเรกและชอบที่จะได้ทำงานในสิ่งที่พวกเขารัก มักลงเอยด้วยการเริ่มทำ lifestyle startups ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนของ startup ประเภทนี้ได้แก่ คนที่หลงใหลในการออกกำลังและโภชนาการได้หันมาเปิดโรงเรียนสอนเต้น ออกกำลัง หรือโยคะ เพื่อดึงคนรักสุขภาพเข้ามาลงคอร์สที่ทำให้มีรูปร่างและสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังและกินอาหารที่เหมาะสมกับพื้นฐานร่างกายของแต่ละคน

buyable startups (สตาร์ตอัปที่สามารถซื้อได้)

เชื่อไหมว่าในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ มีหลายบริษัทที่ถูกออกแบบมาตั้งเริ่มต้นว่าต้องการจะขายธุรกิจให้กับบริษัทที่ใหญ่กว่าในภายหลัง เช่น ยักษ์ใหญ่ในฝั่งอีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon และผู้ให้บริการแพลตฟอร์มขนส่งอย่าง Uber ได้ค้นหาสตาร์ทอัพขนาดเล็กที่มีจุดเด่นและสามารถซื้อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เพียงเพื่อต้องการพัฒนาบริษัทแม่ให้มีความสามารถการแข่งขันในอนาคตมากขึ้น

big business startups (สตาร์ตอัปบริษัทขนาดใหญ่)

ปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่ที่ใกล้จะหมดความสามารถในการแข่งขัน จากปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี พฤติกรรมของลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งหน้าใหม่ที่เข้าสู่ตลาด นั่นทำให้องค์กรขนาดใหญ่หันมาพลิกโฉมโมเดลการทำธุรกิจด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีนวัตกรรม ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี

social startups (สตาร์ตอัปเพื่อสังคม)

แค่ชื่อก็พอจะบอกได้แล้วว่า social startups ก่อตั้งขึ้นเพื่อคอยช่วยเหลือและทำความดีต่อสังคม โดยตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ก็คือ Blisser แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงผู้ใช้เข้ากับบรรดาบุคคลมีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ เช่น ดารา นักร้อง ฯลฯ ที่เข้ามาขายผลงานศิลปะ ทั้งรูปภาพ รูปวาด หรือวิดีโอพิเศษ และผลกำไรบางส่วนจะถูกบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่ผู้ซื้อได้เลือกไว้ตั้งแต่แรก

สองเรื่องที่คนมักไม่รู้เกี่ยวกับ startup

startup เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร? startup มีจุดกำเนิดที่ศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีของโลกอย่าง “ซิลิคอนวัลเลย์” ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง startup ยุคแรกๆ ที่ได้ขยายขนาดจนสามารถเติบโตมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน นั่นก็คือ IBM หรือ International Business Machines ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1911 หรือเมื่อ 111 ปีที่แล้ว

แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง startup ที่เกิดขึ้นมายุคที่เทคโนโลยีกำลังเฟื่องฟูเต็มที่ในช่วงปลายทศวรรษ 90 ก็มีชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นหู ทั้ง Amazon รวมถึง Google ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ใช้เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตที่กำลังบูมในยุคนั้น นำมาพัฒนาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก

ความเป็น startup จะสิ้นสุดลงเมื่อไร? แท้จริงแล้วเป้าหมายของการตั้ง startup ก็คือการขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ จนมีลักษณะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ (enterprise) ที่มีคนรู้จักรวมถึงใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างแพร่หลาย ซึ่งระยะเวลาที่ก้าวไปสู่จุดนั้นของ startup โดยทั่วไป จะใช้เวลาราว 4-10 ปี ขึ้นอยู่กับว่าสามารถผ่านเกณฑ์  “The 50-100-500 rule” ของ Alex Wilhelm ที่กำหนดไว้ทั้งหมด 3 ข้อได้หรือเปล่า ซึ่งได้แก่

  • ต้องมีรายได้สุทธิภายในระยะเวลา 12 เดือน เท่ากับหรือมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ (1.8 พันล้านบาท)
  • พนักงานในบริษัทมีมากกว่า 100 คน 
  • มูลค่าของบริษัทต้องมีเท่ากับหรือมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ (1.8 หมื่นล้านบาท)

ทรู ดิจิทัล พาร์ค พร้อมสนับสนุนทุกคนที่อยากเริ่มธุรกิจ startup

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่กำลังไล่ตามความฝันว่าอยากเริ่มธุรกิจ startup ด้วยการใช้ไอเดียสุดสร้างสรรค์ หรือได้เริ่ม startup ไปแล้วและต้องการใครสักคนที่รู้และเชี่ยวชาญมาคอยให้คำปรึกษาในทุกเรื่อง พวกเราทุกคนที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค พร้อมจะช่วยทุกคนที่สนใจใน startup เพียงแค่เข้ามาพูดคุยปรึกษากับเราโดยตรง

ปัจจุบัน ทรู ดิจิทัล พาร์ค มี unicorn ซึ่งเป็นชื่อเรียก startup ที่มีมูลค่ามากกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท มาตั้งบริษัทอยู่ที่นี่แล้วมากถึง 4 บริษัท ได้แก่

  1. Ascend Money ปัจจุบันเป็น startup สาย FinTech สัญชาติไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ให้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทั้งยังเป็นเจ้าของ TrueMoney ที่มีผู้ใช้บริการมากกว่า 50 ล้านราย
  2. Ninja Van startup ด้านการขนส่งจากสิงคโปร์ที่ได้รับเงินทุนจาก Alibaba รวมถึงนักลงทุนอื่นๆ จำนวนมากถึง 2 หมื่นล้านบาท และได้ให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
  3. Carsome startup จากมาเลเซียที่ทำธุรกิจซื้อขายรถมือสองผ่านแพลตฟอร์มทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งได้รับเงินลงทุนสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท และปัจจุบันก็ได้รุกทำตลาดที่ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
  4. Cars24 startup ที่ทำธุรกิจซื้อขายรถมือสองสัญชาติอินเดีย ซึ่งได้รับลงทุนมากถึง 7.2 พันล้านบาท และได้ให้บริการใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย

ด้วยพื้นที่กว่า 200,000 ตร.ม. ของทรู ดิจิทัล พาร์ค ทำให้เราพร้อมรองรับสตาร์ตอัปและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี ด้วยการเป็นระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัปที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งช่วยผลักดันสตาร์ตอัป ผู้ประกอบการ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ นักลงทุน ที่ปรึกษา สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล 

ยิ่งไปกว่านั้น ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังมี Startup Sandbox โปรแกรมที่ช่วยแนะนำทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการเริ่มต้น startup นับตั้งแต่การหาแนวคิด สร้างผลิตภัณฑ์ pitching รู้จักกับพาร์ตเนอร์ใหม่ๆ ไปจนถึงการระดมเงินทุน ฯลฯ เพราะนี่คือพื้นที่ที่คุณสามารถพัฒนาตัวเองเพื่อนำ startup ที่คุณกำลังสร้างไปสู่เป้าหมายในอนาคตได้สำเร็จ หากคุณต้องการปรึกษาเรา คลิกที่นี่

 

Tags

  • Startup
  • SME
  • True Digital Park

You May Like

ติดต่อทีมงานทรู ดิจิทัล พาร์ค

หรือเข้าชม สถานที่