การทำบัญชีสำคัญอย่างไรต่อการทำ Due Diligence เพื่อระดมทุน

  • ธุรกิจ
  • March 21, 2022
การทำบัญชีสำคัญอย่างไรต่อการทำ Due Diligence เพื่อระดมทุน

ห้องเรียนสำหรับ startup ของเราเปิดแล้ว! TDPK TALK Startup Classroom กลับมาใน EP4
และในครั้งนี้เราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในหัวข้อ “การทำบัญชีสำคัญอย่างไรต่อการทำ Due
Diligence เพื่อระดมทุน” โดยเราได้รับเกียรติจากคุณภีม เพชรเกตุ, CEO & Founder ของ PEAK
มาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ตรงในฐานะนักบัญชีและรุ่นพี่ startup
ซึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจจะมีอะไรกันบ้างนั้น เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนแล้ว

ทำความรู้จัก PEAK

คุณภีม เพชรเกตุ CEO และผู้ก่อตั้งของ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ กล่าวว่า เป้าหมายของ PEAK
คือต้องการสร้างพื้นฐานในการทำธุรกิจ เพราะมองว่าการช่วยให้ SME
มีระบบบัญชีที่ดีจะทำให้เขาสามารถเติบโตอย่างแข็งแรงได้ นอกจากนี้ยัง
สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้บริหารและประกอบการตัดสินใจต่าง ๆ ในธุรกิจ
และต้องการช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น
PEAK มีฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี OCR หรือ AI ในการช่วยบันทึกรายการ เทคโนโลยี API
ที่เชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้ระบบบัญชีเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี Dashboard
ที่ช่วยให้เรามองเห็นและเข้าใจภาพรวมธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น และมี line PEAK connect
ที่ช่วยตอบปัญหาและคำถามในธุรกิจ รวมถึงระบบที่ช่วยทำแบบฟอร์มภาษีต่าง ๆ
ตอนนี้มีผู้ใช้งานที่เป็นธุรกิจ SME และ startup กว่า 15,000 กิจการ
และพันธมิตรที่เป็นสำนักงานบัญชีและนักบัญชีอิสระประมาณ 1000 ราย
การทำ Due Diligence สำหรับธุรกิจ SME และ startup คืออะไร
ต้องบอกว่าการทำ Due Diligence เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปิดราวด์ที่สามารถสร้างความมั่นใจให้ investor
จริง ๆ แล้วใน Due Diligence ก็มีหลายส่วน อาทิ
• Financial Due Diligence การตรวจงบการเงิน
• Legal due diligence ทางด้านกฎหมาย
• Technical due diligence หรือการดูในเรื่องของเทคโนโลยีว่าเป็นเหมือนกับที่เล่าหรือเปล่า
มีจริงและใช้งานได้จริงไหม
• Business due diligence
• Customer due diligence การคุยกับ partner และลูกค้า
• Team due diligence การทำความรู้จักทำความเข้าใจสมาชิกในองค์กร
ที่กล่าวมาคือองค์ประกอบต่างๆที่ investor มอง ซึ่งแต่ละท่านและแต่ละ stage ก็มีสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน
ความซับซ้อนหรือ deal size ก็จะแตกต่างกันไป

การทำ Due Diligence ในแต่ละ stage

อย่างในดีลที่เล็ก ๆ หรือ Angel round กระบวนการทำ DD ก็อาจจะน้อยมาก ๆ หรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้
ผมคิดว่าสิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากที่สุดใน early stage ก็คือ founder และทีมงาน การทำ DD
ในระยะนี้ก็คือการได้คุยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์นั่นเอง
แต่ถ้าเป็นระดับที่ใหญ่ขึ้นมาอย่าง Seed round การทำ DD ก็จะค่อนข้างมีความเป็นระบบเหมือนกัน ของ
PEAK มี VC มาลงทุน เขาก็มี criteria เป็น checklist จะมีตั้งแต่การทำงบการเงิน Financial due diligence
ซึ่งต้องบอกว่าใน seed round อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่นัก รายได้หรือความซับซ้อนของธุรกิจก็ยังไม่เยอะ
ที่เราเคยเจอ จุดที่ investor ให้ความสำคัญจะเป็น Legal due diligence เพราะว่า value
หลักของบริษัทคือทรัพย์สินทางปัญญา เขาก็จะดูเรื่องสัญญาจ้าง กิจการได้มีการควบคุมลิขสิทธิ์หรือไม่
แต่ใน Series A ธุรกิจเริ่มมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
อาจจะมีรายได้มากกว่าหนึ่งทางหรือการคำนวณรายได้หลายแบบ หลัก ๆ แล้วใน Series A
มีสองเรื่องที่ถูกตรวจสอบเยอะตามประสบการณ์ของผม ซึ่งได้แก่ Legal due diligence และ Financial due
diligence ใน stage ที่ใหญ่ขึ้น เรื่องงบก็จะเป็นประเด็นที่เขาให้ความสำคัญว่าถูกต้องไหม
และบางทีเริ่มดูลึกถึงเรื่อง internal control ว่ามีการควบคุมภายในที่ดีไหม ยิ่งใน stage หลัง ๆ ใน Series
B, C หรือ IPO ก็จะมีดูในเรื่องของ conflict of interest ว่ามีการป้องกันอย่างไร
มีกระบวนการในการพิจารณาจัดซื้อไหม และหลัง ๆ มานี้ อย่างของ PEAK เป็นธุรกิจที่ใช้ข้อมูลเยอะ
ก็จะมีเรื่อง security due diligence ด้วยว่ามีมาตรการป้องกันอย่างไรบ้าง startup
ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน

การทำบัญชีสำคัญแค่ไหนในการระดมทุน startup ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

การทำบัญชีสำคัญพอให้ดีลล่มได้ถ้าทำบัญชีไม่ดี ดังนั้นต้องทำให้ได้ดีในระดับที่โอเค มีระบบ
แล้วเรื่องบัญชีไม่มีอะไรที่ต้อง creative มาก เพราะว่ามันมีมาตรฐานของมันอยู่แล้ว

สิ่งที่ startup ควรเตรียมเพื่อไม่ให้พลาด

  • เตรียมงบการเงิน ในการทำ DD นักลงทุนอาจจะมีข้อสงสัยเยอะหน่อย เราก็ต้องเตรียมข้อมูลเพื่อ
    support ตัวเลขแต่ละตัวที่อยู่ในงบ รายได้มาจากไหน อย่างไร
    ซึ่งต้องเตรียมมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่ธุรกิจ
  • ตรวจเช็ครายการทำบัญชีมีเงินหายไปไหม หรือ มีรายจ่ายที่ไม่ชัดเจนว่าจ่ายเพื่ออะไร เพราะมี
    startup หลายรายที่เริ่มต้นจากการเป็นธุรกิจในครอบครัวหรือในหมู่เพื่อน
    ดังนั้นบางทีการดูแลเรื่องเงินนั้นไม่ค่อยมีการแบ่งที่ชัดเจนระหว่างเงินส่วนตัวและเงินบริษัทนั่นเอง
  • Capitalize สินทรัพย์ประเภท software เช่น การบันทึกเงินเดือน developer ที่พัฒนา software ให้
    เป็นสินทรัพย์
  • ทำสัญญาเงินกู้ยืมกรรมการ บางครั้งปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากบางทีบัญชีไม่รู้ว่ารายการนี้คืออะไร
    ซึ่งสุดท้ายผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือเจ้าของ เหมือนกับว่าเจ้าของกู้ยืมบริษัท ต้องระวังไว้
    อีกกรณีหนึ่งคือเงินขาดแล้วต้องนำเงินเจ้าของมาเติม
    ซึ่งในกรณีนี้ผมแนะนำว่าต้องทำสัญญาไว้ด้วย เพราะ investor
    ไม่ชอบลงทุนในบริษัทที่มีเงินกู้นั่นเอง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Session สำหรับผู้ที่สนใจให้ไปฟังได้ที่
https://www.facebook.com/TrueDigitalPark/videos/976368776608245

Tags

  • due diligence

You May Like

ติดต่อทีมงานทรู ดิจิทัล พาร์ค

หรือเข้าชม สถานที่